พระราชวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ พระผู้วางรากฐาน กรมส่งเสริมสหกรณ์ |
พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรฯ บวรวิไชยชาญและจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) (กรมพระราชวังบรวฯ วิชัยชาญ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นพระราชอนุชาธิราชแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) |
ทรงประสูติในพระบวรราชวัง เมื่อวันแรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด จุลศักราช 1238 ตรงกับวันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2419 มีพระนามว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (ตันสกุล "รัชนี") ทรงมีเจ้าพี่ร่วมจอมมารดาเดียวกันพระองค์หนึ่ง พระนามว่าพระองค์เจ้าหญิงภัททาวดีศรีราชธิดา พระชันษาแก่กว่าท่าน 5 ปี แต่สิ้นพระชนม์เสียเมื่อพระชันษา 28 ปี |
เมื่อ พ.ศ. 2429 ได้เสด็จเข้าเป็นนักเรียนประจำ ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเสด็จกลับวังเฉพาะวันพระ ทรงเรียนอยู่เพียงปีเศษจกการันต์ คือ จบสูงสุดในประโยค 1 และในระหว่างนั้นทรงเรียนภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย ทรงเรียนจบประโยค 2 เมื่อ พ.ศ. 2434 ทรงสอบไล่ได้เป็นที่ 1 ได้รับพระราชทานหีบหนังสือเป็นรางวัล จากนั้นได้เรียนภาษาอังกฤษต่อไปจนจบหลักสูตรการเรียนของโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อทรงสำเร็จวิชาการโรงเรียนสวนกุหลาบแล้วพระชันษายังน้อยเกินกว่าที่จะรับราชการ จึงเสร็จเข้าเรียนภาษาอังกฤษต่อที่สำนักอื่นแห่งหนึ่ง จน พ.ศ. 2436 จึงได้เสด็จเข้ารับราชการในตำแหน่ง นายเวรกระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษา 16 ปี 3 เดือน ทรงเลื่อนขึ้นเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน พ.ศ. 2438 ทั้งได้ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทยและทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่งอีกหน้าที่หนึ่ง |
ขณะที่ทรงรับราชการอยู่ในกระทรวงธรรมการ 2 ปี เศษนั้น ทรงสนพระทัยที่จะแสวงหาความรู้ทางภาษาอังกฤษเพิ่มเติมอยู่มิได้ขาด โดยทรงกระทำพระองค์สนิทชิดชอบกับที่ปรึกษากระทรวง และข้าราชการอื่นๆ ที่เป็นชาวอังกฤษ ทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ อาทิ การไปเล่นกอล์ฟหรือฮ๊อคกี้ตามท้องสนามหลวง เสด็จไปเล่นเทนนิสตามบ้านฝรั่งหรือตามคลับ เป็นสมาชิกในคลับเรือใบซึ่งตั้งอยู่ถึงแถบชายทะเลจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งความพยายามเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องเพิ่มพูนความรู้ทางภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ดังนั้น พระองค์จึงทรงคุ้นกับขนบธรรมเนียมและตรัสภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว |
ด้วยเหตุนี้ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระองค์เจ้ารัชนี มรเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2439 ในที่สุดพระองค์ท่านก็กลายเป็นผู้ถูกอัธยาศัยอย่างมากกับที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ จนที่ปรึกษาถึงกับทูลปรารภต่อเสนาบดีว่า "ควรส่งคนหนุ่มอย่างพระองค์ท่านไปศึกษาที่ประเทศอังกฤศเสียพักหนึ่ง ก็จะได้คนดีที่สามารถใช้ราชการในวันข้างหน้า" ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2440 จึงทรงย้านมารับตำแหน่งเป็นล่ามที่กระทรวงพระคลังและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จพระราชดำเนินประพาสทวีปยุโรป เมื่อวันที่ 7 เมษายนปีนั้น และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทรงเล่าเรียนต่อในประเทศอังกฤษ |
ผู้ดูแลนักเรียนหลวงจัดให้ท่านไปเรียนอยู่กับแฟมิลี่ คือครูของท่านซึ่งเป็นพระสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทรงเรียนอยู่กับแฟมิลี่ได้เพียง 6 เดือน ก็ทรงสอบคอเลชออฟพรีเซ็บเตอร์ ภาค 1 ได้ และด้วยความวิริยะอุตสาหะและตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ ทำให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ ระหว่างศึกษาทรงหาความรู้ใส่พระองค์ อย่างที่ทรงใช้คำว่า "บรรทุก" ทรงโปรดกีฬาจนเป็นพระนิสัย และทรงเล่นกีฬาอย่างเต็มที่ทำให้พระองค์ทรงกว้างขวางในสังคมมหาวิทยาลัยแต่ทรงศึกษาได้เพียง 3 เทอม ก็ถูกเรียกตัวกลับประเทศ |
วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2442 เสด็จเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยกรมตรวจและกรมสารบัญชี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2444 ได้ทรงย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดกรมธนบัตร ซึ่งเป็นเวลาที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเริ่มที่จะจัดพิมพ์ธนบัตรออกใช้แทนเหรียญตรากระษาใณ์เป็นครั้งแรก พระองค์เจ้ารัชนีจึงได้รับมอบหมายให้จัดตั้งระเบียบราชการกรมใหม่นั้น ได้ทรงเป็นแม่กองปรึกษาในการคิดแบบลวดลายและสีของธนบัตรแต่ละชนิด ทรงมีส่วนในการตราพระราชบัญญัติเงินตรา วางกฎเสนาบดีในการควบคุมธนบัตร และทรงวางหลักการบัญชีด้วย ธนบัตรที่จัดทำขึ้นครั้งนั้นมีอัตราใบละ 1,000 บาท 100 บาท 20 บาท 5 บาท ส่วนอัตรา 1 บาทยังคงใช้เหรียญตรากระษาใณ์อย่างเดิม และได้นำธนบัตรออกจำหน่ายเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันเปิดกรมธนบัตรหลังจากนั้นได้ทรงเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้แทนเจ้ากรมธนบัตรเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2446 และทรงย้ายไปเป็นเจ้ากรมกองที่ปรึกษาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2446 เสด็จอยู่ในตำแหน่งได้ 14 เดือน ก็ต้องทรงย้ายไปรับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมกระษาปณ์สิทธิการ |
จนกระทั่ง1 เมษายน พ.ศ. 2451 ได้ทรงเลื่อนขั้นเป็นอธิบดีกรมตรวจแลกรมสารบัญชี ซึ่งเป็นกรมใหญ่และสำคัญกรมหนึ่งในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (ภายหลังกรมตรวจแลกรมสารบัญชีเปลี่ยนชื่อเป็นกรมบัญชีกลาง) ทรงดำรงตำแหน่งจนสิ้นรัชกาลที่ 5 รวมเวลาที่พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสทรงรับราชการในรัชกาลที่ 5 เป็นเวลา 17 ปี จนมีพระชันษาได้ 33 ปี |
พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นองคมนตรี ได้ทรงรับพระราชทานสัญญาบัติองคมนตรีเป็นลำดับที่ 19 ในองคมนตรีทั้งสิ้นรวม 233 ท่าน |
พ.ศ. 2456 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามจาฤกในพระสุพรรณบัฎว่า พระราชวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงศักดินา 11,000 ไร่ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระราชวังบวร |
ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2458 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมสถิติพยากรณ์ ขึ้นเป็นกรมบัญชาการชั้นมีอธิบดีเป็นหัวหน้า อยู่ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีชื่อว่า "กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์" จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นอธิบดี พระองค์ได้ทรงริเริ่มจัดงานสำคัญขึ้นแผนกหนึ่ง ด้วยทรงคำนึงว่าชาวนาเป็นส่วนหนึ่งของการพาณิชย์ เพราะข้าวเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ แต่ขณะเดียวกันชาวนากลังมีหนี้สินมาก ทำนาได้ข้าวเท่าใดก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด แต่หนี้สินก็ยิ่งพอกพูน จากการหาแนวทางต่างๆ เพื่อทำการช่วยเหลือ ผลโดยสรุปเห็นว่าวิธีการที่จะช่วยเหลือชาวนาให้พ้นจากอุปสรรคดังกล่าวได้ ต้องดำเนินการโดยใช้วิธีจัดตั้งสหกรณ์ |
กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ได้ขยายงานกว้างขวางไปหลายแผนกและมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ประกาศแต่งตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขึ้นเป็นกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ให้อยู่ในความคบคุมของสภาเผยแพร่พาณิชย์ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นอุปนายกแห่งสภานั้น จนกระทั้ง พ.ศ. 2464 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณเป็นรองเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ (ทรงมีตำแหน่งในที่ประชุมเสนาบดีสภาตั้งแต่ พ.ศ. 2463 จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2468 อันเป็นการประชุมเสนาบดีครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ 6) |
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สภานายกแห่งราชบัณฑิตสภาเสด็จแปรพระสถานจากกรุงเทฯ ไปประทับแรมเป็นประจำอยู่ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ผู้แทนเป็นอุปนายกแผนกวรรณคดีแห่งราชบัณฑิตยสภา จึงทรงเป็นสภานายกแทน ได้ทรงปฏิบัติราชการทุกแผนกในราชบัณฑิต ดำเนินรายตามระเบียบเดิม ซึ่งสภานายกพระองค์ก่อนทรงจัดไว้โดยตลอด |
จนกระทั่ง พ.ศ. 2476 เมื่อคราวที่จัดระเบียบงานขึ้นใหม่ ได้เปลี่ยนนามราชบัณฑิตสภาเป็น "ราชบัณฑิตยสถาน" กรมหมื่นพิทยาลงกรณ จึงได้กราบถวายบังคมลาออกทรงรับพระราชทานบำนาญ |
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงนิพนธ์งานเขียนไว้มากมายทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ทรงใช้นามปากกาว่า "น.ม.ส." ซึ่งมาจากพระนามเดิมของพระองค์นั่นเอง โดยทรงหยิบเอาอักษรตัวท้ายของพระนามแต่ละคำที่ผสมกันอยู่ออกมาเป็นคำย่อ (รัชนีแจ่มจรัส) ผงงานนิพนธ์ของพระองค์ท่าน เช่น เรื่องของนักเรียนเมืองอังกฤษ สงครามรัสเซียกับญี่ปุ่น สืบราชสมบัติ พระนลคำฉันท์ ตลาดเงินตรา นิทานเวตาล กนกนคร กาพย์ เห่เรือ ฉันท์สดุดีสังเวยสมโภชพระมหาเศวตฉัตร ความนึกในฤดูหนาว และสามกรุง ฯลฯ |
ทรงออกหนังสือรายสัปดาห์ "ประมวญมารค" และทรงตั้งโรงพิมพ์ประมวญมารคขึ้นที่วัง ถนนประมวญ ต่อมาโรงพิมพ์ถึงการอวสานด้วยภัยสงครามถูกทิ้งระเบิด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2486 |
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงกระทำพิธีอาวาหะกับคุณพัฒน์ (บุนนาค) บุตรีเจ้าพระยาภาศกรวงศ์ และท่านผู้หญิงเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. 2444 ทรงมีพระโอรสธิดา คือ 1. หม่อมเจ้า (ชาย) จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี 2. หม่อมเจ้า (ชาย) รัชนีพัฒน์ รัชนี 3. นางศะศิธร บุนนาค 4. หม่อมเจ้า (ชาย) จันทร์พัฒน์ รัชนี |
พ.ศ. 2462 ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงพรพิมลพรรณ (วรวรรณ) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงมีพระธิดา และโอรส คือ 1. หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิต 2. หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี |
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงสิ้นพระชนฆ์ ด้วยความสงบ ประดุจบรรทมหลับ ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 เวลา 15.30 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 68 ปี 6 เดือน 13 วัน |
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง
50 ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
โทรศัพท์. 0-3561-3460 โทรสาร. 0-3561-1021
E-mail.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง : ภาพประกอบและวิดีทัศน์ จากเว็บไซต์ freepink.com
Copyright © 2022 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง